2552-06-18

ความรู้เบื้องต้นสารกึ่งตัวนำ Semiconductor ตอนที่ 3



สวัสดีครับ ! ถึงเวลามา ทบทวนความรู้ กันอีกแล้ว มาเจอะเจอกันเป็นประจำ กับข้อมูลข่าวสาร เพิ่มความรู้ความเข้าใจในหลักการต่างๆ กับสารประเภทสารกึ่งตัวนำ ( Semiconductor ) รู้ไหมครับว่า....ตอนนี้ประเทศคู่แข่งที่น่ากลัวทางธุรกิจประเภทอุสาหกรรมในอาเชียนคือประแทศอะไร.......ซึ่งแต่ก่อนประเทศนี้จะมาเทียบประเทศไทยเราไม่ได้เลยในด้านธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งตอนนี้เขาจะแซงเราไปหนิดๆ .....และค่อนไปทางมาก นักลงทุนต่างประเทศไม่กล้าลงทุนในประเทศไทยเพราะอะไร การเมืองหรือเปล่า ...? คนในประเทศขาดความรู้ ความสามารถหรือเปล่า..? ประเทศไม่มีความสงบหรือเปล่า..? ฯลฯ ก็ฝากทุกๆท่านที่อยู่ในประเทศนี้ตอบช่วยตอบคำถามนี้ในใจก็แล้วกัน ส่วนเฉลยดูท้ายบทความครับผม.
เริ่มบทความรู้เราดีกว่า...สารกึงตัวนำมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1. สารกึ่งตัวนำชนิด เอ็น ( Negative Type หรือ N-Type ) 2. สารกึ่งตัวนำชนิด พี ( Positive Type หรือ P-Type ) การโด๊ปทำโดยกระบวนการที่เรียกว่า การออกซิเดชั้น จะนำสารซิลิกอน หรือเยอรมันเนียมบริสุทธิ์หลอมละลายด้วยอุณหภุมิ ประมาณ 900-1000 องศา C แล้วเติมสารเจือลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน สารที่เติมไปนี้จะมีจำนวนวาเลนซ์อีเล็กตรอน จำนวน 3 และ 5 ตัว
เมื่อเราพิจารณาถึงการเติมสารเข้าไป ถ้าเราเติมสารเจือที่มีจำนวนวาเลนซ์อีเล็คตรอน 5 ตัวลงไป จะทำให้อะตอมของสารเจือตัวหนึ่งเข้าไปยึดเกาะกับอะตอมสารกึ่งตัวนำข้างเคียงในระบบโควาเรนซ์ ในการยึดเกาะหรือรวมตัวกันจะมีในหนึ่งอะตอมจะเหลืออีเล็คตรอนอยู่ 1 ตัวที่ไม่สามารถจับในบอนได้ เป็นอีเล็กตรอนอิสระ สารแบบนี้เรียกว่าสารผู้ให้( Donor )หรือ เรียกสารชนิดนี้ว่า ชนิด เอ็น ( Negative Type, N- Type ) สารเจือพวกนี้ได้แก่ สารหนู ( Arsenic ) พลวง ( Antimony ) ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) เป็นต้น
เมื่อเราเติมสารสารเจือจำนวนอีเล็คตรอนเท่ากับ 3 เข้าสู่การยึดเกาะในโควาเลนซ์แล้วจะทำให้ขาดอีเล็คตรอนไปหนึ่งตัวต่อหนึ่งอะตอม ทำให้เกิดช่องว่างเรียกว่า โฮล ( Hole ) โจะแสดงประจุไฟฟ้าเป็นบวก ลักษณะสารกึ่งตัวนำชนิดนี้จึงสามารถรับอีเล็คตรอน
จากภายนอกได้อีกเพื่อให้จำนวนในบอนด์ครบแปดตัว หรือเรียกว่าผู้รับ ( Acceptor ) เรียกทั่วไปว่า ชนิด พี ( Positive Type ,
P-Type ) สารเจือพวกนี้ได้แก่ อะลูมิเนี่ยม ( Aluminium ) โบรอน (Boron ) แกลเลี่ยม ( Gallium ) และ อินเดียม ( Indium ) เป็นต้น. ส่วนวันนี้ก็คงฝากไว้แค่นี้ก่อน เฉลยคำถามเลยแล้วกัน เวียดนาม , มาเลเชีย จะจริงหรือเปล่าช่วยพิจารณาด้วยครับ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น