2552-06-06




สวัสดีครับ ! วันนี้มีความรู้พื้นฐานทางอิเล็กฯ ตามเคยให้พี่ๆ,เพื่อนๆ,น้องๆ ได้ทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมา
( คืนอาจารย์เกือบหมดแล้ว ! ) เริ่มกันเลยแล้วกัน
สารกึ่งตันำได้พัฒนาตั่งแต่ปี ค.ศ 1945 เป็นต้นมา จากการทดลองของ บ. เบล เทลีโฟน วิศวกรชื่อ
จอนห์น บาร์ดีน และ วิลเลี่ยม ช็อกเลย์ ได้ค้นพบสารกึ่งตัวนำ สามารถเรียงกระแสไฟฟ้าสลับเป็น
กระแสไฟฟ้าตรง
เนื่องด้วยสารสสารทุกชนิดประกอบขึ้นจากอนุภาคเล็กๆ ที่เราเรียกว่าอะตอม ( Atom ) ในอะตอม
ประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตอน และ อิเล็กตรอน โดยมีโปรตอนกับนิตรอนจะอยู่ภายในนิวเครียส
จำนวนโปรตอนจะพอดีกับจำนวนอิเล็กตรอนชึ่งวิ่งวนอยู่รอบๆนิวเครียส เนื่องจากการที่อิเล็กตรอนวิ่ง
รอบนิวเคลียสนี้เองจะเกิดแรงหนีศูนย์ ชึ่งจะคล้าย ระบบสุริยะ จักรวาลของเรานั้นเอง ชั้นของวง
โคจรจะมีอิเล็คตรอนจำนวนที่ไม่เท่ากัน อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้กับนิวเครียสจะมีระดับพลังงานต่ำ
อันเนื่องจากนิวเครียสดึงดูดได้มาก แต่ถ้าวงไกลออกไปจะมีระดับพลังานสูง สามารถเอาพลังาน
จากภายนอกมาผลักดัน อิเล็คตรอนให้เคลื่อนที่ไปได้สะดวก การเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนก็คือการใหล
ของกระแสไฟฟ้านั้นเอง อิเล็คตรอนวงนอกสุดเรียกว่า วาเลนซ์อิเล็กตรอน ดังนั้นถ้าจะแยกตามทฤษฎี
แถบพลังงานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ฉนวน และตัวนำ
ฉนวน คือ สสารที่เราส่งผ่านพลังานไฟฟ้าเข้าไปแล้วทำให้วาเลนซ์อิเคตรอนหลุดออกจากวงโคจรได้อยากหรือ
เคลื่อนที่ออกจากอะตอมนั้นได้อยาก เนื่องจากมีแถบพลังงานช่องว่างมาก( ในอุดมคติ )
สารกึ่งตัวนำ เป็นธาตุอย่างหนึ่ง ที่ได้มาจากการโด๊ป ( Doping ) โดยเติมสารเจือ ( Impurity )เข้าไป
เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็คตรอน( Electron ) หรือ จำนวนของโฮล ( Hole ) ให้เพิ่มขึ้น ทำให้นำกระแสทาง
ไฟฟ้าในระดับที่ต้องการ ( ขึ้นอยู่กับการออกแบบโครงสร้างภายใน )

ตัวนำ คือ สสารที่เราส่งผ่านพลังานไฟฟ้าเข้าไปแล้วทำให้วาเลนซ์อิเคตรอนหลุดออกจากวงโคจรได้ง่ายหรือ
เคลื่อนที่ออกจากอะตอมนั้นได้ง่าย เนื่องจากมีแถบพลังงานช่องว่างแคบหรือน้อย( ในอุดมคติ )
ก็ ...ประมาณนี้ก่อนนะครับ โปรดติดตามตอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น