2552-06-13

ความรู้เบื้องต้นสารกึ่งตัวนำ Semiconductor ตอนที่ 2





สวัสดีครับ ก็ไม่ได้ Update นานพอสมควรก็ต้องขออภัยด้วย งานช่วงนี้เยอะๆ ช่วงนี้ไข้หวัดใหญ่ ( H1N1 A )กำลังระบาด
การเดินทางไปใหนมาใหนก็ระวังนิด.....หนึ่ง โดยชุมชนคนเยอะๆ เช่น โรงเรียน ,สถานีขนส่ง , สนามบิน, ห้างสรรพสินค้าทั่วไป ติดตามข่าวสารเป็นประจำ ถ้าหากหลีกเลี่ยงสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ควรสวมผ้าปิดจมูก , ล้างมือให้บ่อยขึ้น ก็น่าจะป้องกันได้เบื้องต้น
เริ่ม Update เรื่องของเราเลยแล้วกัน.....
ปัจจุบันบทบาทของสารกึ่งตัวนำมีการนำเอามาใช้งานอย่างกว้างขวาง ธาตุที่นิยมมากคือ เยอรมันเนียม ( Germanium:Ge )
กับ ซิลิกอน ( Silicon :Si ) อะตอมของเยอรมันเนียมมีอิเล็กตรอนทั้งหมด 32 ตัว ส่วนของซิลิกอน มีทั้งหมด 14 ตัว ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้ มีวาเลนซ์อิเล็คตรอนหรืออิเล็คตรอนวงนอกสุดทั้งหมด 4 ตัว โดยรวมตัวกันเป็นผลึกโดยการรวมอะตอมระหว่างกันและกัน หรือ เรียกว่าสภาวะบอนด์ ( Bond ) เมื่อเกิดบอนด์ขึ้นมาแล้วทำให้วาเลนซ์อิเล็คตรอนครบ 8 ตัว สารแต่ละสารนั้นทีลักษณะการรวมตัวไม่เหมือนกัน แต่ของสารกึ่งตัวนำจะมีลักษณะของโควาเลนซ์บอนด์ ซึ่งเป็นบอนด์ที่อะตอมหนึ่งอะตอมจะต้องรวมกันกับอะตอมอื่น
อีก 4 อะตอม เพื่อให้วาเลนซ์อิเล็คตรอนครบ 8 ตัว กล่าวคือบวกกับวาเลนซ์อิเล็กตรอนของตัวเองมีอยู่อีก 4 ตัว การเติมพลังงานหรือการโด๊ป ( Doping ) ปกติสารกึ่งตัวนำไม่มีประโยชน์ทางไฟฟ้าเลย เพราะว่ามันเป็นสารกึ่งตัวนำ
ซึ่งเป็นตัวนำก็ไม่ได้ จะเป็นฉนวนก็เลว แต่มันสามารถเกิดประโยชน์ได้ต่อเมื่อเราเติมสารเจือปนลงไป เพื่อทำให้จำนวนอิเล็คตรอน
( Electron ) หรือจำนวนโฮล ( Hole ) เพิ่มขึ้น อะตอมที่เราเติมเรียกว่าสารเจือ ( Impurity ) การเติมสารเจือลงไปเราเรียกว่าการ
โด๊ป (Doping ) สารกึ่งตัวนำบริสุทธิ์(Intrinsic semiconductor ) เมื่อโดนโด๊ปแล้วจะได้เป็นเป็นสารกึ่งตัวนำที่ไม่บริสุทธิ์
( Extrinsic semiconductor ) หรือเรียกอีกอย่างว่า สารกึ่งตัวนำเจือสารเจือ ( Impurity semiconductor )
สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธ์ ( Extrinsic semiconductor ) มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิด พี ( P ) และ เอ็น ( N )จะกล่าวในครั้งต่อไป
สำหรับวันนี้ก็คงแค่นี้ก่อนนะครับ...............

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น