2552-06-27

หัวต่อ พี- เอ็น



สวัสดีครับก็มีเรื่องราวมาทบทวนความรู้กันอีกเช่นเคย ก็ได้มีโอกาสได้ดูข่าวของไมเคิลแจ็ค สัน ได้เสีย
ชีวิต ถือได้ว่าขาดราชาเพลงร็อกที่ความโดดเด่นมีท่าเต้นเฉพาะตัวไปอีกคน นี่แหละ ชีวิตไม่มีอะไรจีรัง
ยั่งยืน คนที่มีชีวิตอยู่ก็สู้ต่อไป.....
ก็เริ่มทบทวนความรู้กันเลย ถ้าหากเรานำสารกึ่งตัวนำ P และ N มาเชื่อต่อกัน จะเกิดปรากฏการณ์
ใหม่ เพราะโครงสร้างของสาร พี และ เอ็น มีประจุข้างมากไม่เหมือนกัน ชนิด พี ประจุข้างมากคือ โฮล
ชนิด เอ็น ประจุข้างมากคือ อิเลคตรอนอิสระ
เมื่อเรานำสารกึ่งตัวนำชนิด พี และ เอ็น มาต่อกัน อิเลคตรอนอิสระในสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็นจะเคลื่อนที่
ข้ามเข้าไปยังสารกึ่งตัวนำชนิดพี และขณะเดียวกันโฮลจากสารกึ่งตัวนำชนิดพี ก็จเคลื่อนที่ข้ามรอยต่อไปยังสาร
กึ่งตัวนำชนิดเอ็น เราเรียกมันเกิดการแพร่ อิเลคตรอนอิสระจะไปรวมตัวกับโฮลในสาร พี ทำให้อะตอมของสารชนิดพี กลายเป็นไอออนลบ เมื่อเราพิจรณาดูทางด้านเอ็น อิเลคตรอนจะเคลื่อนที่ออกจากด้านเอ็น ทำให้อะตอมด้านเอ็น ขาดไปกลายเป็นไอออนบวกขึ้นแทน การเคลื่อนที่ของโฮลและอิเลคตรอนจะดำเนินการไป
เรื่อยๆ จนกระทั้งรอยต่อทางด้านพี มีอิเลคตรอนสะสมมากขึ้น เมื่ออิเลคตรอนมากพอมันก็จะผลักอิเลคตรอน
ตัวอื่นไม่ให้เคลื่อนที่ข้ามรอยต่ออีกต่อไป โฮลก็จะหยุดเคลื่อนที่ ดั่งนั้นตรงรอยต่อหรือ จังชั่น ( Junction )
จะมีสนามไฟฟ้าเล็กๆ ขึ้นมาสนามหนึ่งคอยขัดขวางมิให้เกิดการเคลื่อนที่ของโฮลและอิเลคตรอน เรียกบริเวณ
รอยต่อนี้ว่า การเกิดดีพลีชั่นเรเยี่ยน ( Depletion Region ) หรือ เกิดจังชั่นโพเทนเชี่ยล ( Potential
Junction ) อันเปรียบเสมือนเนินเขาเล็กๆ เนินหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ประจุจากสารพี และประจุจากสารเอ็น
เดินทางมาหากันได้ เมื่อเกิดสภาวะสมดุลขึ้นแล้วเราสามารถทำให้ประจุของโฮลและอิเลคตรอนก็ต่อเมื่อ
เราทำให้ค่าโพเทนเชี่ยล หรือความลาดชันของเนินเขานี้ต่ำน้อยลง แคบลงพอที่จะให้โฮลและอิเลคตรอนเคลื่อนที่
เข้าหากันได้จึงเกิดการถ่ายเทของการะแสไฟฟ้า
เมื่อเราต่อแบตเตอรี่ ขั่วบวกเข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิดพี และต่อขั่วลบของแบตเตอรี่ให้สารชนิดเอ็น
ทำให้แรงเคลื่อนที่ไฟฟ้า ( Electromotive force : E ) ของแบตเตอรี่เข้าไปหักล้างกับโพเทนเชี่ยล ทำให้ค่าโพเทนเชี่ยลลดน้อยลง ลักษณะเช่นนี้แล้วกระแสไฟฟ้าก็สามารถเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อพี. เอ็น ไปได้หาว่าแรงแรงเคลื่อนที่ของแบตเตอรี่มากกว่าค่าโพเทนเชี่ยล ซึ่งจะมาทบทวนครั้งต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น