2552-07-03

การต่อสารชนิด พี ( P-Type ) และ สารชนิดเอ็น ( N- Type )



สวัสดีครับ ….ช่วงนี้ก็เข้าสู่หน้าฝนแล้ว โรคภัยไข้เจ็บก็ระบาดเป็นระยะๆ โรคเก่ายังไม่ซ่า(ไข้หวัดใหญ่2009 ) เดี๋ยวโรคใหม่ก็ตามมา เช่นโรคฉี่หนู บ้าง โรคน้ำกัดเท้าบ้าง ก็ต้องฝากระวังตัวสักหนิดหนึ่ง หลีกเลี่ยงพื้นที่เปียกแฉะหรือถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรทำความสะอาดเท้าทุกครั้งหลังจากเดินลุยน้ำที่ไม่สะอาด
ก็มีบทความมา ทบทวนความรู้กันเป็นประจำใน Blog นี้ ก็เริ่มเลย..ก็แล้วกัน การต่อสาร 2 ชนิดนี้มีอยู่ 2 แบบ แบบแรก การต่อไบอัสแบบฟอร์เวิร์สไบอัส ( forward Bias ) หรือเรียกว่า ไบอัสตรง คือขั่วบวกต่อที่เข้าสาร ชนิด พี ขั่วลบต่อเข้าที่สารชนิดเอ็นของแบตเตอรี่ เนื่องจากค่าแรงเคลื่อนขั่วบวกของแบตเตอรี่มากกว่าค่าโพเทนเชี่ยล ประจุบวกจากแบตเตอรี่มีแรงพอที่จะผลักประจุโฮลในสารชนิด พี ( P- Type ) ให้เคลื่อนที่ไปหาสารชนิด เอ็น( N- Type ) ขณะเดียวกันประจุลบ ก็จะผลักประจุข้างมากคืออิเล็คตรอนในสารชนิด เอ็น ให้เคลื่อนที่ไปยังทางสารชนิดพี ลักษณะเช่นนี้ถ้าแบตเตอรี่มีแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้ามากกว่าค่าโพเทนเชี่ยล ( ประมาณ 0.6 v. )จะทำให้ประจุของโฮลและอิเล็คตรอนสามารถวิ่งเข้าหากันได้ ช่องว่างระหว่างจังชั่นจึงแคบลง จึงเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอน จากขั่วบวกไปหาขั่วลบของแบตเตอรี่ สามารถนำกระแสได้ หรือทิศทางของกระแสนิยม ทางไฟฟ้า
การต่อแบบรีเวิร์สไบอัส ( Revers Bias ) หรือ ไบอัสกลับ จะชั่วสลับกันกับแบบที่แล้ว คือ ต่อขั่วลบเข้ากับสารพี ขั่วบวกเข้ากับสารเอ็น การต่อลักษณะนี้ทำให้กระแสไหลผ่านไปไม่ได้ เนื่องจากขั่วของแบตเตอรี่แต่ละขั่วเข้ามาเสริมกับค่าโพเทนเชี่ยลของสาร มีผลทำให้เกิดรอยต่อดีพลีชั่นกว้างขึ้น อิเล็คตรอนอิสระจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ข้ามไปยังรอยต่อ สารพีได้ ขณะเดียวกันโฮลซึ่งเป็นประจุข้างมากก็ไม่สามารถข้ามรอยต่อได้เช่นกัน จึงทำไม่เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอน แรงดันไฟฟ้า ,กระแสไฟฟ้าจึงไม่มีการไหลข้ามรอยต่อนี้ขึ้น